สว.ระบบใหม่

ผู้สมัครต้องเลือกกันเอง ต้องทำความรู้จักกันเอง

มีผู้ประกาศตัวให้คนอื่นรู้จักแล้ว

1,715 คน

เข้ารอบ 255 คน

อัปเดตข้อมูล 10 ก.ค. 2567

รู้จักแคมเปญ

รู้จักแคมเปญ

ทำไมต้องมีแคมเปญนี้

ระบบการคัดเลือกสว. ในปี 2567 เป็นระบบพิเศษที่จะใช้ครั้งแรกในโลก เรียกสั้นๆ ว่า ระบบ “แบ่งกลุ่มอาชีพ” และ “เลือกกันเอง” ออกแบบไว้โดยคนที่เขียนรัฐธรรมนูญ 2560

Illustration portraying candidates saying Vote! in Thai

ระบบการเลือกกันเองระหว่างผู้สมัคร จากระดับอำเภอและจังหวัด เอื้อสำหรับคนที่มีเครือข่าย และมีอิทธิพลอยู่ในพื้นที่ ซึ่งค่าธรรมเนียม 2,500 บาท และระบบการคัดเลือกหลายรอบเป็นข้อจำกัด สำหรับคนที่ทำงานหาเช้ากินค่ำและไม่มีเงินทอง

ระบบนี้จึงเป็นการคัดเลือก สว. จากคนที่ “มีเพื่อน มีเงิน และมีเวลา” เอื้อสำหรับกับคนที่มีชื่อเสียง อำนาจ และเงิน ซึ่งสามารถจัดตั้งคนไปสมัครและโหวตให้กับพวกเดียวกันเอง

แต่ผลลัพธ์สุดท้ายอาจ “ล็อก” ไม่ง่าย หากมีผู้สมัครเข้าร่วมกระบวนการจำนวนมาก คนที่สมัครเข้าไปอย่าง “อิสระ” ก็จะออกเสียงได้ตามเจตจำนงของตัวเอง

ยิ่งมีคนสมัครมาก ก็ยิ่งเกิดการมีส่วนร่วมมาก ทำลายโอกาสของกลุ่ม “จัดตั้ง” และเพิ่มโอกาสได้ สว. ที่เป็นตัวแทนจากความคิดเห็นหลากหลายมากขึ้น

สมัคร สว. ≠ อยากเป็น สว.​ เอง

สมัคร สว. เพื่อ มีสิทธิมีเสียง ได้ดังนี้

Illustration of a person surprised by what they can do
  • ลงคะแนนโหวต

    ผู้สมัครหนึ่งคน จะได้ออกเสียงโหวตให้กับกลุ่มอาชีพตัวเอง อย่างน้อย 2 เสียง ถ้าเข้ารอบก็จะได้โหวตให้กลุ่มอาชีพอื่นๆ อีก เป็นช่องทางเดียวที่จะได้มีส่วนเลือกคนที่มีอุดมการณ์สอดคล้องตรงกัน

  • ลุ้นเข้ารอบ

    ถ้าผู้สมัครเข้ารอบระดับจังหวัด ก็จะได้โหวตอีกหลายเสียง และถ้าได้เข้ารอบระดับประเทศ จะได้ออกเสียงมากสุดรวมถึง 42 โหวต มีน้ำหนักมากในการตัดสินผู้จะเป็น สว. จริงๆ หรืออาจจะได้เป็น สว. เพื่อไปผลักดันความฝันของตัวเอง

  • จับตา

    ผู้สมัครที่ได้เข้าร่วมกระบวนการยังมีโอกาสช่วยกัน “จับตา” สังเกตสิ่งผิดปกติหากมีการ “จัดตั้ง” หรือ “ล็อกผล” ในกลุ่มผู้สมัครคนอื่น และเป็นกลไกเดียวที่อาจป้องกันหรือเปิดโปงการโกงได้

ใครสมัคร สว. ได้บ้าง

นอกจากจะต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด อายุ 40 ปีขึ้นไปนับจากวันสมัคร และมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์หรือทำงานด้านที่สมัครไม่น้อยกว่า 10 ปีแล้ว ยังมีคุณสมบัติต้องห้ามอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องพิจารณา

เพื่อความสะดวก เราได้เตรียมเกมไว้ให้คุณลองเช็คแล้ว

เล่นเกม “ฉันสมัคร สว. ได้ไหม?”

หรือโทรมาปรึกษาเพิ่มเติม ได้ที่

02-114-3189 (ทีม WeWatch)

หรือโทรถาม กกต. โดยตรง

02-141-8888

วิธีสมัคร สว.

  1. 1. เลือกอำเภอ/เขตที่เคยมีความเกี่ยวข้องด้วย

    สามารถเลือก 1 อำเภอ/เขตใดก็ได้ที่..

    • เกิด
    • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี (นับถึงวันสมัคร)
    • เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 2 ปี
    • ทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
    • เคยทำงานไม่น้อยกว่า 2 ปี
    • เป็นที่ตั้งของสถานศึกษาที่เคยศึกษา ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
  2. 2. เลือกกลุ่มอาชีพ

    โดยต้องเป็นอาชีพที่ทำ หรือเคยทำติดต่อกันอย่างน้อย 10 ปี

    • กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง
    • กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
    • กลุ่มการศึกษา
    • กลุ่มการสาธารณสุข
    • กลุ่มอาชีพทำนา ทำไร่
    • กลุ่มอาชีพทำสวน เลี้ยงสัตว์ ประมง
    • กลุ่มลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน
    • กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน
    • กลุ่มผู้ประกอบกิจการ SMEs
    • กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่น
    • กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว
    • กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม
    • กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
    • กลุ่มสตรี
    • กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น
    • กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา
    • กลุ่มประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์
    • กลุ่มสื่อสารมวลชน นักเขียน
    • กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
    • กลุ่มอื่น ๆ

ตัวอย่าง

นาย A เกิดที่ อำเภอ ก เรียนที่ อำเภอ ข, เคยเป็นพนักงานเสิร์ฟที่ อำเภอ ค ปัจจุบันเปิดร้านอาหารที่ อำเภอ ง นาย A จะมีทางเลือกในการสมัคร สว. ได้ 8 แบบ

อ่านวิธีเตรียมตัวสมัครเพิ่มเติม ดาวน์โหลดคู่มือผู้สมัคร ดาวน์โหลด Material สว. 67

หากยังมีข้อสงสัย โทรปรึกษาได้ที่

02-114-3189 (ทีม WeWatch)

หรือโทรถาม กกต. โดยตรง

02-141-8888

เพื่อประกอบการพิจารณา ลองสำรวจผู้สมัครคนอื่นๆ ในพื้นที่และกลุ่มอาชีพเดียวกับคุณดู

ค้นหาผู้สมัคร

วิธีคัดเลือก สว.

แบบ “เลือกกันเอง” และ “เลือกไขว้”

พ.ร.ป.สว.ฯ มาตรา 40-42 ออกแบบการเลือก สว. เป็นสามระดับ ดังนี้

ระดับอำเภอ
  • 1. ผู้สมัครเลือกคนใน “กลุ่มอาชีพ” ตัวเอง ไม่เกิน 2 โหวต โดยโหวตตัวเองได้ แต่โหวตคนเดียว 2 คะแนนไม่ได้

    ผู้สมัครแต่ละคนมีมากสุดสองคะแนน

    ผู้เข้ารอบ = 5 อันดับแรกของแต่ละกลุ่ม

    top five from the group
  • 2. จับสลากแบ่งสาย แต่ละสายมี 3-5 กลุ่ม

    lottery
  • 3. ผู้เข้ารอบในขั้นที่ 1 โหวตผู้สมัครกลุ่มอื่นในสายเดียวกัน กลุ่มละ 1 โหวต

    voting

    ผู้ชนะ = 3 อันดับแรกของแต่ละกลุ่ม

    3 อันดับแรกของแต่ละกลุ่ม
ระดับจังหวัด

ทำขั้นตอน 1-3 เหมือนกับระดับอำเภอ ยกเว้นขั้นตอนสุดท้ายที่เลือกผู้ชนะเพียง 2 อันดับแรก

ผู้ชนะ = 2 อันดับแรกของแต่ละกลุ่ม

ผู้ชนะคือ 2 อันดับแรกของกลุ่ม
ระดับประเทศ
  1. 1. ผู้ชนะระดับจังหวัดเลือกคนใน “กลุ่มอาชีพ” ตัวเอง ไม่เกิน 10 โหวต โดยโหวตตัวเองได้ แต่โหวตคนเดียวหลายคะแนนไม่ได้

    ผู้ชนะลงคะแนนได้ 10 คะแนน

    ผู้เข้ารอบ = 40 อันดับแรกของแต่ละกลุ่ม

  2. 2. จับสลากแบ่งสาย แต่ละสาย มี 3-5 กลุ่ม

  3. 3. ผู้เข้ารอบในขั้นที่ 1 โหวตผู้สมัครกลุ่มอื่นในสายเดียวกัน กลุ่มละ 5 โหวต

    ผู้เข้ารอบโหวตผู้สมัครกลุ่มอื่นในสายเดียวกันกลุ่มละ 5 โหวต

    ผู้ชนะ = 10 อันดับแรกของแต่ละกลุ่ม

    อันดับที่ 11-15 ของแต่ละกลุ่ม เป็นรายชื่อสำรอง

    ผู้ชนะ 10 อันดับแรกของแต่ละกลุ่มได้เป็นสมาชิกวุฒิสภา

ไทม์ไลน์การเลือก สว.

จะเสร็จภายใน 2 เดือน

11 พ.ค. สว. ชุดเดิมหมดอายุ ออกพระราชกฤษฎีกาให้เลือก สว. ชุดใหม่
13 พ.ค. ประกาศกำหนดวันรับสมัคร สว. (รู้วันรับสมัคร)
รับสมัครผู้ประสงค์อยากเป็น สว. ระยะเวลาห้าถึงเจ็ดวัน
9 มิ.ย. เลือกระดับอำเภอ
16 มิ.ย. เลือกระดับจังหวัด
26 มิ.ย. เลือกระดับประเทศ
2 ก.ค. กกต. ประกาศผลการเลือก สว.

สว. ต้องทำอะไรบ้าง

จะต้องสานต่อภารกิจประชาธิปไตย

  • เดินหน้ารัฐธรรมนูญประชาชน

    เดินหน้ารัฐธรรมนูญประชาชน

    ต้องอาศัยเสียง สว. หนึ่งในสามลงมติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เพื่อ "เขียนใหม่ทั้งฉบับ" จาก สว. 200 คน ต้องมีคนพร้อม โหวตอย่างน้อย 67 คน

  • พิจารณากฎหมาย

    พิจารณากฎหมาย

    สว. มีอำนาจลงมติเพื่อออกกฎหมาย แม้บทบาทจะน้อยกว่า สส. แต่ถ้า สว. ไม่สนับสนุนสิทธิเสรีภาพ กฎหมายดีๆ ก็ผ่านได้ยาก

  • ตรวจสอบการทำงานรัฐบาล

    ตรวจสอบการทำงานรัฐบาล

    สว. สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ ผ่านการอภิปรายในสภา และสะท้อนปัญหาของประชาชนผ่านการตั้งกระทู้ถาม

  • เคาะเลือกคนมาตรวจสอบรัฐบาล

    เคาะเลือกคนมาตรวจสอบรัฐบาล

    สว. เป็นด่านสำคัญที่จะลงมติรับรองให้ใครมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ - องค์กรอิสระ (เช่น กกต. ป.ป.ช.) ตุลาการศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด ฯลฯ จึงต้องการ สว. ที่ใจเป็นอิสระ

*สว. ชุดใหม่จะไม่มีอำนาจโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีแล้ว

ผู้จัดแคมเปญ

iLawHuman Rights Lawyers Associationคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมWeVisWe Watchกป.อพช.คปอ.เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนFIPTHE PATANIDRGCALLACT LABNEO LANNAกลุ่มนครเสรีเพื่อประชาธิปไตยคบเพลิง